วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2550


ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 (แยกทางหลวงหมายเลข 1 (บางปะอิน) - บรรจบทางหลวงหมายเลข 1 (พยุหะคีรี)) หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ถนนสายเอเซีย เริ่มต้นที่ชุมทางต่างระดับบางปะอิน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มุ่งหน้าขึ้นไปทางเหนือ ผ่านนิคมอุตสาหกรรมไฮ-เทค ศูนย์ราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ศูนย์การค้าอยุธยาพาร์ค นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ข้ามแม่น้ำป่าสักที่ตำบลบ่อโพง อำเภอนครหลวง ไปบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 (ปทุมธานี - บางปะหัน) จากนั้นมุ่งขึ้นไปทางเหนือ และบรรจบกับถนนพหลโยธิน ที่จังหวัดชัยนาท
ถนนสายเอเชียเปิดใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2516 ในสมัยรัฐบาล พลเอกถนอม กิตติขจร มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในโครงข่ายทางหลวงเอเชีย (Asian Highway Network) โดยทางหลวงสายนี้เป็นทางหลวงสาย A1 (แม่สอด-ตาก-พยุหะคีรี-บางปะอิน-หินกอง-นครนายก-ปราจีนบุรี-อรัญประเทศ) และ A2 (แม่สาย-เชียงราย-พิษณุโลก-นครสวรรค์-บางปะอิน-กรุงเทพฯ-นครปฐม-เพชรเกษม-หาดใหญ่-สะเดา) ตามลำดับ แต่เดิมเป็นเพียงทางหลวงขนาด 2 ช่องจราจรสวนทาง ซึ่งมีด่านเก็บเงินที่บางปะอิน บางปะหัน พรหมบุรี สรรพยา แต่เมื่อนายสมัคร สุนทรเวช รมว.คมนาคมในขณะนั้นประกาศยกเลิกเก็บค่าผ่านทาง ทำให้ด่านต่างๆ กลายสภาพเป็นด่านร้างในที่สุด บ้างก็ถูกดัดแปลงเป็นสำนักงานแขวงการทาง เป็นด่านชั่งน้ำหนักรถบรรทุก
ทางหลวงสายนี้ได้ขยายเป็น 4 ช่องจราจรเมื่อปี พ.ศ.2535-2537 ที่ผ่านมา โดยได้มีการสร้างทางต่างระดับตามจุดต่างๆ เช่น พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี อินทร์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี แต่ในปี พ.ศ.2549 กรมทางหลวงได้ทำการขยายช่องจราจรเป็น 8 ช่องจราจรไป-กลับ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งโครงการประมาณต้นปี 2552
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32

ไม่มีความคิดเห็น: