วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2550

อดีตสมาชิก

มอร์นิงมุซุเมะ ซากูระ กูมิมอร์นิงมุซุเมะ ซากูระ กูมิ เพลงซิงเกิล

วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ทฤษฎีควอนตัม
ทฤษฎีควอนตัม อาจหมายถึง:


ทฤษฎีควอนตัมแบบเก่า ภายใต้แบบจำลองของบอร์
กลศาสตร์ควอนตัม
ทฤษฎีสนามควอนตัม ซึ่งรวมถึง:

  • พลศาสตร์ไฟฟ้าควอนตัม
    Quantum chromodynamics
    Electroweak interaction
    แรงดึงดูดควอนตัม
    Quantum optics

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550

หนุมาน
หนุมาน เป็นตัวละครเอกตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ ลักษณะเป็นลิงเผือก กายสีขาว เมื่อสำแดงฤทธิ์จะมี 4 หน้า 8 มือ มีกุณฑลขนเพชร เขี้ยวแก้ว หาวเป็นดาวเป็นเดือน ดังกลอนตอนที่หนุมานเกิดว่า
สามารถขยายตัวให้ใหญ่ได้ สามารถยืดหางให้ยาวมากๆได้ หนุมานจะไม่มีวันตาย เนื่องจากเป็นลูกของพระพาย (ลม) กับนางสวาหะ เมื่อตายแล้วโดนลมพัดก็จะฟื้นขึ้นมาได้ หนุมานเป็นลิงที่รูปหล่อ มีนิสัยเจ้าชู้ มีเมียมาก เช่น นางสุพรรณมัจฉา จนมีลูกเป็น มัจฉานุซึ่งมีลักษณะเป็นลิงเผือก แต่มีหางเป็นปลา, นางเบญกาย บุตรีของพญาพิเภก ตอนที่แปลงกายมาเป็นนางสีดาตายลอยทวนน้ำมา หลังจากถูกจับได้ก็ให้หนุมานพาไปส่งมีลูกด้วยกัน ชื่อว่า อสุรผัด
ตลอดเรื่องราวของเรื่องรามเกียรติ์นั้น หนุมานผู้เป็นทหารเอกของพระรามได้รับรางวัลจากพระราม 3 ครั้ง 1.ผ้าขาวม้า ได้ตอนที่หนุมานไปเผากรุงลงกา 2.ธำมรงค์ ได้จากตอนที่ไปช่วยพระรามหลังจากที่ถูกไมยราพจับไปขังไว้ที่เมืองบาดาล 3.เมืองนพบุรีพร้อมสนม 5000 นาง ได้ในตอนที่เสร็จศึกลงกาแล้ว

ลักษณะของหนุมาน
กายสีขาว มีกุณฑร(ต่างหู)ขนเพชร เขี้ยวแก้ว(อยู่กลางเพดานปาก)หาวเป็นดาวเป็นเดือน มีสี่หน้า แปดกร

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550


พลาสมา เมมเบรน เป็นเยื่อหุ้มที่อยู่ชิดกับผนังเซลล์ อาจจะมีลักษณะเรียบ (smooth) หรืออาจจะพับไปมา เพื่อขยายขนาด พลาสมา เมมเบรนเข้าไปในเซลล์ เรียกว่า มีโซโซม (mesosome) มีหน้าที่ควบคุม การเข้าออกของน้ำ สารอาหาร และอิออนโลหะต่างๆ เป็นตัวแสดงขอบเขตของเซลล์ เซลล์ทุกชนิดต้องมีเยื่อหุ้มเซลล์
พลาสมา เมมเบรน เป็นเยื่อบางๆ ประกอบด้วนสารประกอบสองชนิด คือ ไขมันชนิดฟอสโฟลิปิด กับโปรตีน โดยมีฟอสโฟลิปิดอยู่ตรงกลาง 2 ข้างเป็นโปรตีน โดยมีไขมันหนาประมาณ 35 อังสตรอม และโปรตีนข้างละ 20 อังสตรอม รวมทั้งหมดหนา 75 อังสตรอม ลักษณะที่แสดงส่วนประกอบ ของเยื่อหุ้มเซลล์นี้ ต้องส่องดู ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จึงจะเห็นได้
อะโครโซม (Acrosome) • ผนังเซลล์ (Cell wall) • พลาสมา เมมเบรน (Plasma membrane) • คลอโรพลาสต์ (Chloroplast) • ซีเลีย (Cilium)/แฟลเจลลัม (Flagellum) • เซนโทรโซม (Centrosome) • ไซโทพลาซึม (Cytoplasm) • เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม (Endoplasmic reticulum) • เอนโดโซม (Endosome) • กอลจิแอปพาราตัส (Golgi apparatus) • ไลโซโซม (Lysosome) • เมลาโนโซม (Melanosome) • ไมโทคอนเดรีย (Mitochondrion) • ไมโอไฟบริล (Myofibril) • นิวเคลียส (Nucleus) • นิวคลีโอลัส (Nucleolus) • พาเรนทีโซม (Parenthesome) • เปอร์ออกซิโซม (Peroxisome) • ไกลออกซิโซม (Glyoxysome) • พลาสติด (Plastid) • ไรโบโซม (Ribosome) • แวคิวโอล (Vacuole) • เวสิเคิล (Vesicle)
พลาสมา เมมเบรน

วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2550

พระเจ้าบรมโกศ
พระบาทสมเด็จพระภูมินทรมหาราชาบรมโกศ หรืออีกพระนามหนึ่งว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 มีพระนามเดิมว่า " เจ้าฟ้าพร " ทรงขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระเชษฐา คือ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ แต่การขึ้นครองราชย์ของพระองค์ต้องกระทำการปราบดาภิเษก เพราะต้องรบพุ่งกับพระราชโอรส 2 พระองค์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ คือ เจ้าฟ้าอภัย และเจ้าฟ้าปรเมศร์ เพราะพระเชษฐาแม้จะแต่งตั้งพระองค์ให้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลแล้วก็ตาม แต่เมื่อใกล้จะสวรรคต กลับตัดสินพระทัยยกราชสมบัติแก่ เจ้าฟ้านเรนทร พระโอรสพระองค์ใหญ่ แต่เจ้าฟ้านเรนทรไม่เห็นด้วยชอบด้วย จึงยกราชสมบัติให้แก่เจ้าฟ้าอภัย พระโอรสองค์รอง การต่อสู้แย่งชิงราชบัลลังก์จึงเกิดขึ้น ระหว่าง วังหลวง และ วังหน้า เป็นสงครามกลางเมือง กินระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี
ภายหลังเหตุการณ์สงบแล้ว พระองค์จึงได้ขึ้นครองราชย์ และประหารชีวิตเจ้าฟ้าทั้ง 2 พระองค์และพรรคพวกเสีย จากนั้นจึงได้ทำนุบำรุงบ้านเมืองและพระศาสนา มีขุนนางคนสำคัญที่เติบโตในเวลาต่อมา ในรัชกาลของพระองค์หลายคน เช่น สมเด็จพระเจ้าตากสิน, พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เป็นต้น ในทางด้านวรรณคดี ก็มีกวีคนสำคัญเช่น เจ้าฟ้ากุ้ง ซึ่งเป็นพระโอรส เป็นต้น
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สวรรคตในปี พ.ศ. 2301 รวมระยะเวลาการครองราชย์นาน 26 ปี

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2550


อักษรฮีบรูเป็นอักษรไร้สระชนิดหนึ่ง รุ่นแรกๆเป็นอักษรที่พัฒนามาจากอักษรฟินิเชียน อักษรฮีบรูรุ่นใหม่พัมนามาจากอักษรอราเมอิกรุ่นแรกๆ จารึกภาษาฮีบรูพบครั้งแรกเมื่อ 557 ปีก่อนพุทธศักราช อักษรนี้เขียนจากขวาไปซ้ายในแนวนอน ตัวอักษรบางตัว เช่น กาฟ เมม นุน ฟี และซาดี มีรูปท้ายคำ ซึ่งจะพบในตำแหน่งสุดท้ายของคำเท่านั้น ไม่มีตัวเลข ใช้เลขอารบิกแทน สระเสียงยาวกำหนดโดยอะเลฟ วาว และยอด ไม่แสดงสระเสียงสั้นยกเว้นในไบเบิล กวีนิพนธ์และหนังสือสำหรับเด็กและชาวต่างชาติ

อักษรฮีบรู ใช้เขียน

ภาษาฮีบรูที่อยู่ในกลุ่มคานาอันไนต์ของภาษากลุ่มเซมิติก เป็นภาษาของชาวยิวแต่ถูกแทนที่ด้วยภาษาอราเมอิกเมื่อ 43 ปีก่อนพุทธศักราช ช่วง ปลายพุทธศตวรรษที่ 25 ขบวนการไซออนิสม์ได้กระตุ้นให้ฟื้นฟูภาษาฮีบรูเป็นภาษาพูด และเป็นภาษาราชการของอิสราเอลตั้งแต่ พ.ศ. 2491 ปัจจุบันมีชาวยิวราว 5 ล้านคนในอิสราเอลพูดภาษาฮีบรูใหม่

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550

มลรัฐนิวเจอร์ซีย์
มลรัฐนิวเจอร์ซีย์ (New Jersey) เป็นมลรัฐในสหรัฐอเมริกาที่มีความหนาแน่นประชากรมากที่สุด ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศ โดยอยู่ติดกับรัฐนิวยอร์ก ชื่อนิวเจอร์ซีย์มาจากชื่อของเกาะเจอร์ซีย์ บริเวณช่องแคบอังกฤษในยุโรป ชื่อเล่นของรัฐมีชื่อว่า "การ์เดนสเตต" (Garden State) ชาวยุโรปกลุ่มแรกที่ตั้งรกรากในนิวเจอร์ซีย์คือ ชาวสวีเดน และชาวเยอรมัน เมืองสำคัญในรัฐนิวเจอร์ซีย์ได้แก่ นูอาร์ก (น้วก) เจอร์ซีซิตี และ แอตแลนติกซิตี ทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงได้แก่ นิวยอร์ก ไจแอนต์, นิวยอร์ก เจ็ต, นิวเจอร์ซีย์ เน็ต, นิวเจอร์ซีย์ เดวิลส์ และ เมโทรสตารส์ มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงได้แก่ มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน

วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2550

มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์
มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ (Johns Hopkins University) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมืองบอลติมอร์ รัฐแมริแลนด์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2419 (ค.ศ. 1876) โดยมีการเปิดการเรียนการสอบในหลายระดับ มีนักศึกษาประมาณ 6,000 คน
จอห์นฮอปกินส์ มีชื่อเสียงในด้านการแพทย์และการพยาบาล โดยได้รับการจัดอันดับจากยูเอสนิวส์ในอันดับต้นของประเทศหลายครั้ง

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ส้ม
ส้ม อาจหมายถึง:


ส้ม (ผลไม้) ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กและเป็นผลไม้
สีส้ม สีที่ใช้ชื่อจากผลไม้ แสงสีส้มที่มองเห็นได้มีความยาวคลื่นราว 590 นาโนเมตร

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2550


ฝายแม้ว เป็นชื่อเรียกโครงการตามแนวพระราชดำริ เกี่ยวกับวิศวกรรมแบบพื้นบ้าน ฝายแม้วเป็นฝายชะลอน้ำกึ่งถาวรประเภทหนึ่ง ประเภทเดียวกับฝายคอกหมู โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่นกิ่งไม้ ก้อนหิน เพื่อกั้นชะลอน้ำในลำธาร หรือทางน้ำเล็กๆ ให้ไหลช้าลง และขังอยู่ในพื้นที่นานพอที่จะพื้นที่รอบๆจะได้ดูดซึมไปใช้ เป็นการฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้เกิดความชุ่มชื้นมากพอที่จะพัฒนาการเป็นป่าสมบูรณ์ขึ้นได้ ฝายแม้วยังอาจใช้เพื่อการทดน้ำ ให้มีระดับสูงพอที่จะดึงน้ำไปใช้ในคลองส่งน้ำได้ในฤดูแล้ง โครงการตามแนวพระราชดำรินี้ได้มีการทดลองใช้ที่โครงการห้วยฮ่องไคร้ จ.เชียงใหม่ และประสบผลสำเร็จจนเป็นตัวอย่างให้กับโครงการอื่นๆต่อมา
ฝายแม้ว

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ทบวงมหาวิทยาลัย
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีคณะกรรมการการอุดมศึกษา ทำหน้าที่ในการดูแลและรับผิดชอบการศึกษาระดับอุดมศึกษา

ทบวงมหาวิทยาลัย ประวัติ

สัญลักษณ์ประจำสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
สืบเนื่องมาจากทบวงมหาวิทยาลัยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว นั่นคือ "พระวชิระ" เป็นตราประจำทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งต่อมาทบวงมหาวิทยาลัยได้เปลี่ยนเป็น "สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา" จึงได้อัญเชิญ "พระวชิระ" มาเป็นตราประจำสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาสืบเนื่องมา