วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2550

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เดิมชื่อ วัดพระบรมธาตุ ตั้งอยู่ ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมืองอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิด วรมหาวิหาร
พ.ศ. 854 เจ้าชายธนกุมาร และพระนางเหมชาลาและบาคู (แปลว่า นักบวช )ชาวศรีลังกา สร้างวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร (เดิมชื่อ วัดพระบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช) เจดีย์องค์เดิมเจดีย์แบบศรีวิชัยคล้ายเจดีย์ กิริเวเทระ ในเมืองโบโลนนารุวะ ประเทศศรีลังกา
พ.ศ. 1093 พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช (หมายถึง ผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช) (ชื่อว่าพระเจ้าจันทรภาณุ) ได้ทำการสร้างเมืองนครศรีธรรมราช ขึ้นพร้อมการก่อสร้างเจดีย์ ขึ้นใหม่เป็น เจดีย์แบบศาญจิ
พ.ศ. 1770 พระเจ้าจันทรภาณุ (หมายถึง ผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช) ได้บูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ เจดีย์แบบลังกา ทรงระฆังคว่ำ หรือ โอคว่ำ มีปล้องไฉน 52 ปล้อง สูงจากฐานถึงยอดปลี 37 วา 2 ศอก ((มาตราชั่ง ตวง วัด ของประเทศไทย) ยอดปลีของปล้องไฉน หุ้มทองคำเหลืองอร่าม สูง 6 วา (มาตราวัดไทย 1 วา เท่ากับ 2 เมตร) 1 ศอก (มาตราชั่ง ตวง วัด ของประเทศไทย 4 ศอก เท่ากับ 2 เมตร ดังนั้น 1 ศอก เท่ากับ 0.50 เ�! ��ตร))แผ่เป็นแผ่นหนา เท่าใบลานหุ้มไว้ น้ำหนัก 800 ชั่ง (มาตราชั่ง ตวง วัด ของประเทศไทย เท่ากับ 960 กิโลกรัม )รอบพระมหาธาตุมีเจดีย์ 158 องค์
พ.ศ. 2155 และ พ.ศ. 2159 สมัยสมเด็จพระเอกาทศรถมีการซ่อมแผ่นทองที่ปลียอดพระบรมธาตุ
พ.ศ. 2190 สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ยอดพระบรมธาตุได้ชำรุดหักลง และได้มีการซ่อมสร้างขึ้นใหม่
พ.ศ. 2275 - 2301 สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีการดัดแปลงทางเข้าพระสถูปพระบรมธาตุบริเวณวิหารพระทรงม้า
พ.ศ. 2312 สมัยพระเจ้าตากสินมหาราช ปฏิสังขรณ์พระอารามทั่วไปภายในวัด และโปรดให้สร้างวิหารทับเกษตรต่อออกจากฐานทักษิณรอบองค์พระธาตุ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัด) สมัยพระบาทพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ บูรณะพระวิหารหลวง วิหารทับเกษตร พระบรมธาตุที่ชำรุด ปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บูรณะกำแพงช�! ��้นนอก วิหารทับเกษตร วิหารธรรมศาลา วิหารพระทรงม้า วิหารเขียน ปิดทองพระพุทธรูป
พ.ศ. 2457 สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ติดตั้งสายล่อฟ้าองค์พระบรมธาตุเจดีย์
พ.ศ. 2515 - 2517 บูรณปฏิสังขรณ์ พระวิหารหลวงและพระอุโบสถ
พ.ศ. 2530 ซ่อมกลีบบัวทองคำที่ฉีกขาดเปราะบาง เสื่อมสภาพเป็นสนิม เสริมความมั่นคงแข็งแรงที่กลีบบัวปูนปั้น ในวันที่ 28 สิงหาคม 2530 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมารเสด็จอัญเชิญแผ่นกลีบบัวทองคำขึ้นประดิษฐบนองค์พระบรมธาตุเจดีย์
พ.ศ. 2537 - 2538 บูรณะปลียอดทองคำพระบรมธาตุเจดีย์ และเสริมความมั่นคงปูนแกนในปลียอด ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 50 ล้านบาท สิ้นทองคำ 141 บาท (มาตราชั่ง ตวง วัด ของไทย 1 บาท เท่ากับ 15.2 กรัม)
กรมศิลปากร ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 ตอนที่ 34 วันที่ 27 กันยายน 2479



พิกัดแผนที่
มวลสารวัตถุจากโบราณสถาน และโบราณวัตถุในที่นี้ รัชกาลที่ 9 ได้นำมาเป็นส่วนประกอบในการทำพระสมเด็จจิตรลดา


ไม่มีความคิดเห็น: