วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2550



ความหมายอื่นของ เพชรบุรี ดูได้ที่ เพชรบุรี (แก้ความกำกวม)
จังหวัดเพชรบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางตอนล่าง (บ้างก็จัดอยู่ในภาคตะวันตกด้านของการพยากรณ์อากาศจัดอยู่ภาคใต้ตอนบน) มีภูมิประเทศทั้งเป็นที่สูงติดเทือกเขา และที่ราบชายฝั่งทะเล มักเรียกชื่อสั้น ๆ ว่า เมืองเพชร (ชื่อจังหวัดนี้ออกเสียงว่า เพ็ด-ชะ-บุ-รี หรือ เพ็ด-บุ-รี) เพ็ชรบุรี ในสมัยโบราณ เรียกกันว่า พริบพรี ก็มี บ้างก็ว่ามาจาก ศรีวัชรบุรี
จังหวัดเพชรบุรีมีชื่อเสียงในฐานะแห่งผลิตน้ำตาล เนื่องจากมีต้นตาลหนาแน่น เป็นเมืองเก่าแก่ มีประวัติศาสตร์ยาวนานนับตั้งแต่สมัยอยุธยา ปัจจุบันมีวัดเก่าแก่ และบ้านเรือนทรงไทยจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีคำพูดติดปากว่า นักเลงเมืองเพชร ปัจจุบันเพชรบุรีเป็นเมืองด่านสำคัญระหว่างภาคกลางและภาคใต้ และยังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น หาดชะอำ หาดปึกเต�! �ยน หาดเจ้าสำราญ แหลมหลวง แหลมเหลว และเขื่อนแก่งกระจาน



จังหวัดเพชรบุรี
สารบัญ
ด้านเหนือติดกับจังหวัดราชบุรี และ จังหวัดสมุทรสงคราม ด้านตะวันออกติดชายฝั่งอ่าวไทย ด้านใต้ติดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และด้านตะวันตก ติดกับสหภาพพม่า พื้นที่ด้านตะวันตกเป็นป่าไม้และภูเขาสูง มีประชากรอาศัยหนาแน่นทางตะวันออกของพื้นที่
จังหวัดเพชรบุรีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 ระยะทาง ประมาณ 123 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 6,225,138 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,890,711.20 ไร่ โดยมีส่วนที่กว้างที่สุดวัดได้ 103 กิโลเมตร จากทิศตะวันออก-ตะวันตก และส่วนที่ยาวที่สุดวัดได้ 80 กิโลเมตร จากทิศเหนือ-ใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับ จังหวัดและประเทศใกล้เคียง
ลักษณะภูมิประเทศ แบ่งเป็น 3 เขต คือ
ก. เขตภูเขาและที่ราบสูง อยู่ทางด้านตะวันตกของจังหวัดติดกับพม่าในบริเวณอำเภอแก่งกระจาน และอำเภอ หนองหญ้าปล้อง มีภูเขาสูงและเป็นบริเวณที่สูงชันของจังหวัด มีลักษณะเป็นเทือกเขาทอดยาวจากเหนือมาใต้ พื้นที่ถัดจาก บริเวณนี้จะค่อย ๆ ลาดต่ำลงมาทางด้านตะวันออก บริเวณนี้เป็นต้นกำเนิดแม่น้ำเพชรบุรี และแม่น้ำปราณบุรี
ข. เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ บริเวณตอนกลางของจังหวัดซึ่งอุดมสมบูรณ์ที่สุด มีแม่น้ำ เพชรบุรีซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญ ไหลผ่าน และมีเขื่อนแก่งกระจานและเขื่อนเพชรบุรีซึ่งเป็นแหล่งน้ำระบบชลประทาน บริเวณนี้เป็นเขตเกษตรกรรมที่สำคัญ ของจังหวัด เขตนี้คือบริเวณบางส่วนของอำเภอเมืองเพชรบุรี ท่ายาง ชะอำ บ้านลาด บ้านแหลม และเขาย้อย
ค. เขตที่ราบฝั่งทะเล อยู่ทางด้านตะวันออกของจังหวัด ติดกับชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย บริเวณนี้นับเป็นแหล่ง เศรษฐกิจที่สำคัญยิ่งของจังหวัดในด้านการประมง การท่องเที่ยว เขตนี้ได้แก่ บางส่วนของอำเภอเมืองเพชรบุรี บ้านแหลม และอำเภอชะอำ



ภูมิประเทศ
จังหวัดเพชรบุรีอยู่ติดอ่าวไทยจึงได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ในฤดูฝน ซึ่งมีผลทำให้ฝนตกชุก และ อิทธิพลจากลมมรสุมรตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว จึงทำให้มีอากาศหนาวเย็นในช่วงเวลาดังกล่าว สามารถแบ่งฤดูกาล ออกเป็น 3 ฤดู
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม - เมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 32.13 องศาเซลเซียส
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - พฤศจิกายน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 959.5 มิลลิเมตร
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม - กุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 24.16 องศาเซลเซียส



�
หน่วยการปกครอง
ตราประจำจังหวัดเพชรบุรี

ธงประจำจังหวัดเพชรบุรี

จังหวัดเพชรบุรีจากอวกาศ


ดอกไม้ประจำจังหวัด: ไม่มี
ต้นไม้ประจำจังหวัด: หว้า (Eugenia cumini)
คำขวัญประจำจังหวัด: เขาวังคู่บ้าน ขนมหวานเมืองพระ เลิศล้ำศิลปะ แดนธรรมะ ทะเลงาม

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

การค้าขายในแม่น้ำเพชรบุรี

สะพานจอมเกล้าในอดีต


ทรัพยากรป่าไม้
ทรัพยากรป่าชายเลน
ทรัพยากรน้ำ
สัตว์ป่า
สัตว์น้ำ

ทรัพยากร

อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี

สถานศึกษา
วัดโคมนาราม

วัดปากน้ำ

วัดปีป

วัดสระบัว


ศิลปวัฒนธรรมเพชรบุรี
เกจิอาจารย์สายเพชรบุรี
วัดที่สำคัญของเมืองเพชร
โบราณสถานในเมืองเพชร
วัดโคมนาราม (ที่จมทะเลไปแล้ว) - วัดโคมนาราม (วัดในบางแก้ว) ปัจจุบันได้ย้ายเข้ามาในแผ่นดินแล้ว สำหรับวัดที่อยู่ที่เดิม ได้จมลงในทะเลไปแล้ว หลังจากได้มีการกัดเซาะของกระแสน้ำในทะเล อย่างรุนแรง ที่ย่ากต่อการป้องกัน ซึ่งหลังจากได้มีการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียได้ศึกษาและได้ทำการหาวิธีป้องกัน ลดผลกระทบ ในปัจจุบันความรุนแรงของปัณหาการกัดเ�! �าะได้ลดลงบ้าง
วัดปากน้ำ - ท่าหิน เพชรบุรี เป็นวัดร้างที่คงหลงเหลืออยู่แค่พระพุทธรูปกับซุ้มเท่านี้ อยู่ถนนโพธิ์การ้องใกล้สี่แยกท่าหิน ที่ไปบางแก้ว
วัดปีป - เป็นวัดร้างที่ตั้งอยู่ข้างรางรถไฟในเขตตำบลช่องสะแก อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี

ไม่มีความคิดเห็น: