วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550

คามิลลา ดัชเชสแห่งคอร์นวอล
วิกิพีเดียยังไม่มีบทความที่ตรงกับชื่อนี้
เริ่มบทความ คามิลลา ดัชเชสแห่งคอร์นวอล
ค้นหา คามิลลา ดัชเชสแห่งคอร์นวอล ในบทความอื่น ๆ
ดูบทความที่กล่าวถึง คามิลลา ดัชเชสแห่งคอร์นวอล
ถ้าคุณสร้างหน้านี้แล้วเมื่อไม่นานมานี้แต่มันยังไม่ปรากฏขึ้น เป็นไปได้ที่จะมีการล่าช้าในปรับปรุงฐานข้อมูล ลองล้างข้อมูลเก่าในเครื่อง หรือกรุณารอสักครู่และตรวจดูอีกครั้งก่อนที่ท่านจะลองสร้างหน้าใหม่
ถ้าคุณสร้างบทความชื่อเรื่องนี้ก่อนหน้านี้ มันอาจจะถูกลบไปแล้ว ดู ปูมการลบ และทำไมหน้าถึงโดนลบ
ถ้าต้องการถามคำถามเกี่ยวกับ คามิลลา ดัชเชสแห่งคอร์นวอล ให้ลองถามที่ ปุจฉา-วิสัชนา

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2550

เพ้า
เพ้า เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sinilabeo elegans หรือ Bangana sinkleri อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae - Labeonini มีลักษณะลำตัวทรงกระบอก หัวโต จงอยปากสั้นเเละมีตุ่มเล็ก ๆ ในตัวผู้ ปากกว้างอยู่ด้านล่าง เกล็ดค่อนข้างใหญ่ ครีบหลังสูง ลำตัวสีเทาหรือเขียวมะกอก ในฤดูผสมพันธุ์จะเปลี่ยนเป็นสีม่วง มีลายจุดสีน้ำตาลแดง ท้องสีขาว อาหารได้แก่ ตะไคร่หรือสาหร่ายตามพื้นน้ำหรือแก่งหิน มีขนาดประมาณ 19-30 ซ.ม.
มักอาศัยอยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ 3-9 ตัว ตามซอกหินหรือแก่งน้ำไหลเชี่ยว เป็นปลาที่พบน้อย โดยจะพบเฉพาะที่แม่น้ำโขงที่เดียวเท่านั้น

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2550


ฟรานซ์ ปีเตอร์ ชูเบิร์ต (Franz Peter Schubert) (31 มกราคม พ.ศ. 2340 - 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2371) คีตกวีชาวออสเตรีย

ประวัติ

ผลงาน

สำหรับวงออเคสตรา

Huit impromptus
Les six moments musicaux
21 Sonates pour piano, dont

  • 21ème sonate en Si bémol majeur D960
    20ème sonate en La majeur D959
    19ème sonate en Ut mineur D958
    18ème sonate en Sol majeur (Fantaisie) D 894
    17ème sonate en en Ré majeur D850
    16ème sonate en La mineur D845
    15ème sonate en Ut majeur D894
    14ème sonate en La mineur D784
    13ème sonate en La majeur D664
    11ème sonate en Fa mineur D625
    9ème sonate en Si bémol majeur D575
    8ème sonate en Mi bémol majeur D 568
    6ème sonate en Mi majeur D566
    5ème sonate en Mi bémol majeur D557
    4ème sonate en La mineur D537
    1ère sonate en Mi majeur D157
    Fantaisie à 4 mains en fa mineur D940 สำหรับเปียโน

    Sonate «Arpeggione»
    Quintette pour piano et cordes « La truite »
    Quintette pour deux violons, alto et violoncelle
    Quartettsatz
    13e quatuor «Rosamunde»
    14e quatuor « La jeune fille et la mort »
    15e quatuor en sol majeur
    Trio avec piano n° 1 en si bémol majeur, opus 99 (D 898)
    Trio avec piano n° 2 en mi bémol majeur, opus 100 (D 929) ฟรานซ์ ปีเตอร์ ชูเบิร์ต แชมเบอร์มิวสิก

    Cycle La belle meunière (Die Schöne Müllerin) D. 795
    Cycle Voyage d'hiver (Winterreise) D. 911
    Cycle Chant du cygne (Schwanengesang) D. 957
    Le pâtre sur le rocher
    Le Roi des aulnes
    Marguerite au rouet ดนตรีขับร้อง

    Mass in G, movement 1 (file info)เปิดฟัง
    Mass in G, movement 2 (file info)เปิดฟัง
    Mass in G, movement 3 (file info)เปิดฟัง
    Mass in G, movement 4 (file info)เปิดฟัง
    Mass in G, movement 5 (file info)เปิดฟัง
    Mass in G, movement 6 (file info)เปิดฟัง
    Impromptu in B-flat, movement 1 (file info)เปิดฟัง
    Impromptu in B-flat, movement 2 (file info)เปิดฟัง
    Impromptu in B-flat, movement 3 (file info)เปิดฟัง
    Impromptu in B-flat, movement 4 (file info)เปิดฟัง
    Impromptu in B-flat, movement 5 (file info)เปิดฟัง
    Impromptu in B-flat, movement 6 (file info)เปิดฟัง
    Impromptu in B-flat, movement 7 (file info)เปิดฟัง
    Impromptu in A-flat, D. 935/2 (Op. 142 No. 2) (file info)เปิดฟัง
    หากไม่ได้ยินเสียง โปรดดูเพิ่มที่ media help. ผู้เล่นผลงานของชูเบิร์ตที่มีชื่อเสียง

    วรรณคดี :

    • มิกาเอล ทูนิเย, Le roi des aulnes.
      ภาพยนตร์ :

      • หลุย บุนนูเอล, L'âge d'or,
        มาร์เซล ปาญโยล La belle meunière โดยมี ทิโน รอซซี เล่นเป็นชูเบิร์ต
        สแตนลีย์ คูบริก บาร์รี ลินดอน

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2550


พุทธศักราช 731 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 188 - มีนาคม ค.ศ. 189
มหาศักราช 110 พ.ศ. 731 วันเกิด

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2550


มาช่วยกันเพิ่มเติมและแก้ไขกันเถอะ เพื่อให้บทความนี้น่าอ่านยิ่งขึ้นชะนี รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ เริ่มต้นเขียน และ นโยบายวิกิพีเดีย หรือ ภาษาอื่นด้านซ้ายมือ ให้นำกล่องนี้ออกเมื่อมีข้อความเพิ่มเติม


Hylobates Hoolock Nomascus Symphalangus

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550


อีนิแอก (ENIAC ย่อมาจาก Electronic Numerical Integrator and Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ดิจิทัลอิเล็กทรอนิกส์อเนกประสงค์เครื่องแรกของโลก พัฒนาโดยกองทัพบกสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2485 ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อใช้ในการคำนวณวิถีการโจมตีของอาวุธในแบบต่างๆ อีนิแอกได้จัดเข้าสู่โครงการ ในคณะวิศวกรรมไฟฟ้า ที่ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ในปี 2486 และในปี 2490 ได้ถูกย้ายไปที่ Aberdeen Proving Ground ที่มลรัฐแมริแลนด์

ENIAC การเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์รุ่นก่อนหน้า
Z3 โคโลสซัส และอีนิแอก ถูกพัฒนาขึ้นอย่างลับ เป็นอิสระจากกัน โดยเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยพัฒนาเพื่อการสงครามของแต่ละประเทศ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย Z3 ได้ถูกทำลายโดยเครื่องบินทิ้งระเบิดจากฝ่ายพันธมิตร ที่เบอร์ลิน ในปี พ.ศ. 2487 ส่วนโคโลสซัสได้ถูกทำลงตามคำสั่งของ วินสตัน เชอร์ชิลล์ และถูกเก็บเป็นความลับจนกระทั่งคริสต์ทศวรรษ 1970 ส่วน ABC ถูกทอดทิ้งไว้ที่วิทยาลัยไอโอวาสเตต เมื่อ จอห์น อตานาซอฟฟ์ ได้รับคำสั่งให้ไปทำวิจัยการสงครามที่ วอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งทั้งหมดนี้ต่างจากอีนิแอก ซึ่งถูกประกาศสู่สื่อมวลชนใน ค.ศ. 1946 และกลายเป็นจุดสนใจของทั้งโลก จากเหตุผลเหล่านี้ ทำให้ในช่วงนั้นประวัติคอมพิวเตอร์ กล่าวถึงเพียงอีนิแอก และ ฮาร์วาร์ด มาร์ก วัน

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2550

AH-1F Cobra
เฮลิคอปเตอร์ รุ่น ฮิวอี้ คอปบรา ที่ Bell กำลังสร้าง ได้ทำการ บินเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 7 ก.ย. 1965 ซึ่งสร้างขึ้นโดย บริษัท Bell Helicopter รุ่นนี้ สร้างมาจาก Bell รุ่น 204 ซึ่งมี เครื่องยนต์ เกียร์บ๊อกซ์ (transmission) และ ใบพัด (rotor) ของ UH-1C แต่ ลำตัวสร้างใหม่ ที่นั่งของ พลปืน จะอยู่ที่หัว ด้านหน้าสุด ส่วน ที่นั่ง นักบิน จะอยู่สูงกว่า แต่ อยู่ด้านหลัง ของพลปืน ลำตัวจะ แคบ มาก ส่วนที่กว้างที่สุดกว้างเพียง 3 ฟุต 2 นิ้วเท่านั้น มาในปี 1966 กระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ ได้ทำสัญญากับ บริษัท Bell Helicopter เพื่อสร้าง เฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้ แล้วให้ชื่อว่า AH-1G เพราะอยู่ในสถานการณ์ เร่งด่วน ที่ต้องการ ลำแรกก็สามารถส่งมอบให้กองทัพบก ได้ในเดือน มิ.ย. ปี1967 เพียง ปีเดียวหลังการทำสัญญา แล้ว AH-1G ก็เข้า ประจำการ ใน เวียตนาม และบินปฏิบัติการ มากกว่า 1 ล้านชั่วโมง AH-1G สร้างให้กองทัพบกสหรัฐฯ ทั้งหมด มากกว่า 1100 ลำ AH-1 มีหลายรุ่น หลายแบบ AH-1G จะใช้เครื่องยนต์ เพียง เครื่องยนต์เดียว , TH-1G เป็นรุ่นที่ใช้ ในการฝึกบิน , AH-1Q ใช้กับ TOW missile, AH-1R , AH-1S , AH-1P และ เครื่องที่ถือว่า ทันสมัย และเป็น มาตรฐาน ก็คือ AH-1F ซึ่งเป็นรุ่น ที่ได้ ทำการ แก้ไข ปรับปรุง ทุกๆอย่าง ที่ ผ่านมา ตั้งแต่รุ่น AH-1G แล้ว.
เฮลิคอปเตอร์โจมตี แบบ 1 (ฮ.จ.1) (AH-1F Cนิพฟ)
ผู้สร้าง บริษัทเบลล์เฮลิคอปเตอร์ สหรัฐอเมริกา
ประเภท เฮลิคอปเตอร์โจมตี จำนวน 2 ที่นั่ง( เรียงกันหน้า-หลัง)
เครื่องยนต์ 1 GASTURBINE (LYCOMING) T55-L-703ให้กำลังสูง 1,800 แรงม้า กำลังแรงม้าใช้งาน1,292 แรงม้า
อาวุธ ปืนกลอากาศ(ปืนใหญ่ขนาด 20 มม. M 197) 3 ลำกล้อง จรวดขนาด 2.75 นิ้ว กระเปาะจรวดติดตั้งที่ใต้ปีกทั้ง 2 ข้างๆละ 38 นัด จรวด BGM-71 TOW
ความเร็วสูงสุด 190 น๊อต หรือ 342 กม./ชม.
ความเร็วเดินทาง 150 น๊อต หรือ 270 กม./ชม.

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2550

ท่าอากาศยานเอดินเบอระ
ท่าอากาศยานเอดินเบอระ (Edinburgh Airport) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า เทิร์นเฮาส์ (Turnhouse) ตั้งอยู่ที่กรุงเอดินเบอระ สก็อตแลนด์ ห่างจากตัวเมืองไปทางตะวันตกประมาณ 13 กิโลเมตร (8 ไมล์) เป็นท่าอากาศยานที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของสหราชอาณาจักร

วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2550

ฝนทอง
ฝนทอง (') มีลักษณะคล้ายไม้เอก ใช้ประสมสระ อี เอียะ และ เอีย
ฝนทอง

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2550

เขตสงวนอินเดียนแดง
เขตสงวนอินเดียนแดง (Indian reservation) เป็นเขตแดนในสหรัฐอเมริกาที่ๆทางรัฐบาลสหรัฐ เตรียมไว้สำหรับจัดให้ชาวอินเดียนแดงโดยรัฐบาลประกาศคำสั่ง ให้ชาวอินเดียนแดงทุกคนย้ายเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2419 (ค.ศ. 1876) ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการกระทำที่โหดร้าย ทารุณต่อมนุษย์
ในสหรัฐอเมริกามีประมาณ 300 เขตสงวนซึ่งบางเผ่าอาจจะมีอยู่ภายในหลายเขตสงวน โดยมี 9 เขตสงวนที่ใหญ่กว่า 5,000 กม² และ 12 เขตสงวนที่มีขนาดใหญ่กว่า 3,000 กม² โดยในแต่ละเขตสงวนจะมีดินแดนที่ต่างกัน รวมถึงภูมิประเทศและภูมิอากาศ พื้นดินในบางดินแดนไม่สามารถทำเกษตรกรรมได้
ในปี พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) กฎหมายที่ให้ชาวอินเดียนแดงเปิดคาสิโนอย่างถูกกฎหมายผ่านสภา ซึ่งรัฐบาลสหรัฐอเมริกาหวังว่าชาวอินเดียนแดงสามารถมีรายได้เพียงพอสำหรับคนในเผ่า ภายใต้ชื่อว่า "1988 Indian Gaming Regulatory Act"

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2550

สมุทรสาครสมุทรสาคร

หน่วยการปกครอง
เรือสำเภา ตราประจำจังหวัดสมุทรสาคร



ดอกไม้ประจำจังหวัด: ไม่มี
ต้นไม้ประจำจังหวัด: สัตตบรรณ (Alstonia scholaris)
คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองประมง ดงโรงงาน ลานเกษตร เขตประวัติศาสตร์

วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2550


ศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช นักปราชญ์ นักเขียน นักการเมือง และศิลปินแห่งชาติ นับเป็นปูชนียบุคคลอีกท่านหนึ่งของไทย โดยเป็นน้องชายแท้ ๆ ของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช สื่อมวลชนจึงนิยมเรียกทั้งคู่ว่า " หม่อมพี่ หม่อมน้อง "

ประวัติ
ในเบื้องต้น ท่านได้เข้าศึกษาในโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (วังหลัง) จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเดินทางไปศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ ที่โรงเรียน Trent College จากนั้น ได้สอบเข้า 'วิทยาลัยควีนส์' (The Queen's College) มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เพื่อศึกษาวิชาปรัชญา,เพศศึกษา, เศรษฐศาสตร์ และการเมือง (Philosophy, Politics and Economics - PPE) โดยสำเร็จปริญญาตรีเกียรตินิยม (และ 3 ปีต่อมา ก็ได้รับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยดังกล่าว ตามธรรมเนียมสำหรับผู้สำเร็จปริญญาเกียรตินิยม และได้ผ่านการใช้ความรู้ความสามารถในวิชาที่ร่ำเรียนมาจนมีประสบการณ์ช่ำชองมาระยะหนึ่ง)

การศึกษา

คึกฤทธิ์ ปราโมช ผลงานประพันธ์

สี่แผ่นดิน
ไผ่แดง
กาเหว่าที่บางเพลง
หลายชีวิต
ซูสีไทเฮา (นวนิยาย)
สามก๊กฉบับนายทุน นวนิยาย
¼

ฉากญี่ปุ่น
ยิว บทละครเวที

รับราชการที่กรมสรรพากร
เลขานุการที่ปรึกษากระทรวงการคลัง
ผู้จัดการธนาคารพาณิชย์ สาขาลำปาง
รับราชการทหาร (เมื่อเกิดสงครามอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา ได้รับยศ สิบตรี)
หัวหน้าฝ่ายสำนักผู้ว่าการและหัวหน้าฝ่ายออกบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประธานกรรมการ ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การจำกัด
เขียนบทความลงในคอลัมน์ "ซอยสวนพลู"
ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ประจำ พ.ศ. 2528
พ.ศ. 2531 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนยศจากสิบตรี เป็นพลตรี (ทหารราชองครักษ์พิเศษ) บทบาททางการเมือง

ได้ดำเนินการเปิดสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเดินทางไปเยือนกรุงปักกิ่งเมื่อปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975)

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2550


เพลงลูกทุ่ง คือเพลงที่สะท้อนวิถีชีวิต สภาพสังคมอุดมคติและวัฒนธรรมไทย โดยมีท่วงทำนอง คำร้อง สำเนียง และลีลาการร้องการบรรเลงที่เป็นแบบแผน มีลักษณะเฉพาะซึ่งให้บรรยากาศ ความเป็นลูกทุ่ง
ขุนวิจิตรมาตราบันทึกไว้ในหนังสือเรื่องของละครและเพลง ว่าเพลงลูกทุ่งเป็นวงดนตรีแบบสากลที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณปีหรือสองปี ลักษณะเพลงลูกทุ่งในระยะเริ่มแรก มาจากการร้องรำทำเพลงของไทยดั้งเดิม อาทิ แหล่เทศน์ สวดคฤหัสถ์ จำอวด ลิเก (ทรงเครื่อง) ลิเกลูกหมด (ไม่แต่งเครื่อง) ลิเกบันตน ลำตัด เพลงขอทาน เพลงพื้นเมืองบางเพลง ฯลฯ โดยเพลงลูกทุ่งนำมาดัดแปลงแล้วใส่ดนตรีแบบสากล เป็นลักษณะเพลงแบบใหม่

ประวัติ
ต้นตระกูลเพลงของไทยก็คือ เพลงมีเนื้อร้องแบบกลอนแปด สลับกับการเอื้อนทำนอง แต่ละเพลงจะมีความต่อเนื่องเป็นเพลงเถา ตับ ชั้น เช่น 2 ชั้น 3 ชั้น ฯ และมีความยาวพอสมควร เพลงมักจะเริ่มจากช้าไปหาเร็ว ต่อมาเพลงได้ถูกพัฒนา เป็นเพลงประกอบรำจนถึงเข้าเรื่องละคร และเนื่องจากมีความยาวเกินไปจึงพัฒนาให้กระชับลง โดยใส่คำร้องในทำนองเอื้อน เรียกว่า เนื้อเต็ม นาฏกรรมจากวรรณคดี เช่น โขน ละครร้องของเจ้านายในราชสำนัก ได้รับความนิยมในหมู่เจ้านายวังหน้า วังหลัง หรือนอกวัง การแสดงแบบคลาสสิค ก็ถูกปรับให้เข้ากับชาวบ้านจากโขน ละคร มาเป็นหนังสด ลิเก

บริบท
ในยุคแรกๆยังไม่มีการแยกประเภทเพลงไทยสากลออกเป็นลูกทุ่งและลูกกรุง ถือว่าเป็นเพลงกลุ่มเดียวกัน มีนักร้องเพลงไทยสากลได้ร้องเพลงประเภทที่มีสาระบรรยายถึงชีวิตชาวชนบท หนุ่มสาวบ้านนา และความยากจน โดยรู้จักกันในชื่อ "เพลงตลาด" หรือ "เพลงชีวิต" โดยส่วนใหญ่นักร้องเพลงตลาดหลายท่านจะประพันธ์เพลงเองด้วย อาทิ ไพบูลย์ บุตรขัน ชะลอ ไตรตรองสอน พยงค์ มุกดา มงคล อมาตยกุล เบ็ญจมินทร์ (ตุ้มทอง โชคชนะ) สุรพล สมบัติเจริญ ฯลฯ เป็นต้น ส่วนวงดนตรีที่เด่น ๆ ของเพลงแนวนี้ได้แก่ วงดนตรี "จุฬารัตน์" ของมงคล อมาตยกุล วงดนตรี "พยงค์ มุกดา" และ วงดนตรี "สุรพล สมบัติเจริญ" นับได้ว่าวงดนตรีทั้งสามนี้เป็นแหล่งก่อกำเนิดแยกตัวเป็นวงดนตรีเพลงลูกทุ่งจำนวนมากในเวลาต่อมา
ในระยะแรกยังไม่เรียกกันว่า "นักร้องลูกทุ่ง" นักร้องชายที่รู้จักชื่อเสียงกันดี เช่น คำรณ สัมบุณณานนท์ ชาญ เย็นแข นิยม มารยาท ก้าน แก้วสุพรรณ ชัยชนะ บุญนะโชติ ทูล ทองใจ ฯลฯ ส่วนนักร้องหญิงที่มีชื่อเสียงเด่น ได้แก่ ผ่องศรี วรนุช ศรีสอางค์ ตรีเนตร
เพลงลูกทุ่งเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นนับตั้งแต่ ประกอบ ไชยพิพัฒน์ นักจัดรายการเพลงทางสถานีไทยโทรทัศน์ ได้ตั้งชื่อรายการว่า "เพลงลูกทุ่ง" เมื่อปลายปี พ.ศ. 2507 และต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 มีการจัดงานแผ่นเสียงทองคำพระราชทานในครั้งที่สอง ได้มีการมอบรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานในฐานะนักร้องลูกทุ่งชายยอดเยี่ยม โดย สมยศ ทัศนพันธ์ ได้รับรางวัลจากเพลง "ช่อทิพย์รวงทอง"

เพลงลูกทุ่งยุคแรก
สุรพล สมบัติเจริญ ได้ทำให้เพลงลูกทุ่งอยู่ในความนิยม ด้วยเอกลักษณ์ ลีลา และ รูปแบบเฉพาะตัว อีกทั้งยังแต่งเพลงร้องเองเป็นส่วนใหญ่ เขาเริ่มชีวิตการร้องเพลงจากกองดุริยางค์ทหารอากาศ

ยุคทองของเพลงลูกทุ่ง
ในช่วงปี พ.ศ. 2513–2515 มีการแข่งขันระหว่างเพลงลูกกรุงและเพลงลูกทุ่งสูง ทั้งนี้ในวงการเพลงลูกทุ่งเองก็มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง นักแต่งเพลงพยายามสร้างเอกลักษณ์ประจำตัวของนักร้องแต่ละคน นักร้องเพลงลูกทุ่งบางคนก็ไปแสดงภาพยนตร์ บางคนถึงกับเล่นเป็นตัวเอกโดยเฉพาะในภาพยนตร์เพลง ภาพยนตร์บางเรื่องนำเพลงลูกทุ่งมาประกอบเป็นเพลงเอก อย่างเช่นเรื่องมนต์รักลูกทุ่ง ที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ซึ่งแสดงนำโดยพระเอกขวัญใจในยุคนั้นคือ มิตร ชัยบัญชา เพลงเอกชื่อเดียวกับภาพยนตร์ประพันธ์โดย ไพบูลย์ บุตรขัน ส่วนนักร้องเพลงลูกทุ่งที่ร่วมแสดงด้วย ได้แก่ บุปผา สายชล โดยขับร้องเพลงดังในภาพยนตร์ชื่อ ยมพบาลเจ้าขา
หลังจากความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่องมนต์รักลูกทุ่ง ทำให้มีการสร้างภาพยนตร์โดยมีการแสดงเพลงลูกทุ่งประกอบอีกหลายเรื่อง อาจเรียกได้ว่าเป็นยุคของภาพยนตร์เพลงลูกทุ่ง นักร้องที่เกิดจากภาพยนตร์แนวนี้และโด่งดังสุดขีดในวงการเพลงลูกทุ่งต่อมา ได้แก่ สังข์ทอง สีใส โดยเป็นผู้ร้องเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องโทน และแสดงคู่กับพระเอกไชยา สุริยัน นักร้องคนอื่น เช่น ระพิน ภูไท เสกศักดิ์ ภู่กันทอง ศรคีรี ศรีประจวบ สมัย อ่อนวงศ์ พนม นพพร ยุพิน แพรทอง ชาตรี ศรีชล กาเหว่า เสียงทอง กังวานไพร ลูกเพชร ฯลฯ ส่วนนักแต่งเพลงที่ประสบความสำเร็จในช่วงนี้ก็มีไม่น้อย อาทิ กานท์ การุณวงศ์ ฉลอง ภู่สว่าง ช. คำชะอี พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา สุรินทร์ ภาคศิริ ฯลฯ

ยุคแห่งการแข่งขัน
หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยอย่างกว้างขวาง ในวงการเพลงเกิดวงดนตรีแนวที่เรียกว่า "เพลงเพื่อชีวิต" ส่วนเพลงลูกทุ่งก็อยู่ในยุคเพลงเพื่อชีวิตเช่นกัน เนื้อหาเพลงลูกทุ่ง ได้สอดแทรกเนื้อหาเพลงเพื่อชีวิต โดยในยุคนั้นมีเพลงลูกทุ่งเพื่อชีวิตเป็นจำนวนมาก นักร้องเพลงลูกทุ่งมักกล่าวถึงชีวิตชนบทและความยากจนค่นแค้นอยู่แล้ว เนื้อหาจะเน้นปัญหาชาวไร่ชาวนาและกรรมกรให้โดดเด่นมากยิ่งขึ้น เพลงลูกทุ่งในยุคนั้นเช่น เพลงข้าวไม่มีขาย หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน เสียนาเสียนาง เราคนจน โอ้ชาวนา ฯลฯ
ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2516–2519 ได้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ในวงการเพลงลูกทุ่ง คือ การร้องเพลงล้อเลียนการเมือง เพลงเหล่านี้มักเป็นการร้องเพลงลูกทุ่งผสมบทพูด แฝงแง่คิดหรือการวิพากษ์วิจารณ์ไว้อย่างคมคาย และสร้างความบันเทิงขำขันให้แก่ผู้ฟัง ผู้ที่แต่งเพลงแนวนี้ไว้เป็นจำนวนมาก ได้แก่ สงเคราะห์ สมัตถภาพงษ์ ซึ่งส่วนใหญ่ขับร้องโดย เพลิน พรหมแดน ตัวอย่างเช่น เพลงกำนันผันเงิน พรรกระสอบหาเสียง ฯลฯ นักแต่งเพลงท่านอื่น ๆ ที่ประสบความสำเร็จสูงในยุคนี้ได้แก่ ชลธี ธารทอง ธงชัย เล็กกำพล โผผิน พรสุพรรณ สดใส ร่มโพธิ์ทอง กู้เกียรติ นครสวรรค์
นักแต่งเพลงส่วนใหญ่จะแต่งเพลงส่วนใหญ่ให้กับนักร้องเป็นรายบุคคลไป ส่วนนักร้องมักมีวงดนตรีของตนเอง ตลอดจนผลิตแผ่นเสียงหรือบันทึกเทปจำหน่ายเอง นักร้องที่มีชื่อเสียงในช่วงนี้ได้แก่ สายัณห์ สัญญา ศรเพชร ศรสุพรรณ สัญญา พรนารายณ์ บานเย็น รากแก่น น้ำอ้อย พรวิเชียร ฯลฯ เป็นต้น
หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เพลงลูกทุ่งแนวเพื่อชีวิตก็ซาลง บทเพลงมีเนื้อหากลับมาบรรยายเรื่องของความรัก ความเศร้า และความงามของสาวชาวไร่ชาวนาเช่นเดิม เช่น เพลงรักสาวชาวไร่ น้ำตาชายเหนือ สิ้นทางรัก ฯลฯ และยิ่งเมื่อเศรษฐกิจพัฒนารุดหน้ามากขึ้น ก่อให้เกิดการย้ายถิ่นฐานประกอบอาชีพของชาวชนบทเข้าสู่เมืองหลวง บทเพลงลูกทุ่งสะท้อนชีวิตและปัญหาของบุคคลเหล่านี้ซึ่งประกอบอาชีพเป็นสาวใช้ สาวบาร์ หมอนวด กรรมกร ลูกจ้าง ตลอดจนไปขายแรงงานในกลุ่มประเทศอาหรับ เช่น เพลงฉันทนาที่รัก พาร์ทเนอร์เบอร์ห้า สาวโรงทอรอรัก หนุ่มกระเป๋า ไอ้หนุ่มรถตุ๊กตุ๊ก ฯลฯ

เพลงลูกทุ่งยุคเพลงเพื่อชีวิตและการเมือง
ในช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2520–2528 เป็นช่วงที่เกิดนักร้องทั้งลูกทุ่งลูกกรุงจำนวนมาก มีการแข่งขันสูงมาก การแสดงเพลงลูกทุ่งมีการประกวดประชันการเต้นและเครื่องแต่งกายของหางเครื่องประกอบด้วย วงดนตรีเพลงลูกทุ่งได้เข้าสู่ระบบทุนมากขึ้น นักแต่งเพลงแนวลูกทุ่งในช่วงเวลานี้ เช่น ชลธี ธารทอง ฉลอง ภู่สว่าง คัมภีร์ แสงทองวิเชียร คำเจริญ ชัยพร เมืองสุพรรณ สุชาติ เทียนทอง ชวนชัย ฉิมพะวงศ์ ดอย อินทนนท์ ดาว บ้านดอน ฯลฯ
นักร้องชายที่อยู่ในความนิยม เช่น สายัณห์ สัญญา เกรียงไกร กรุงสยาม สุรชัย สมบัติเจริญ ยอดรัก สลักใจ ศรชัย เมฆวิเชียร ศรเพชร ศรสุพรรณ พร ไพรสณฑ์ ฯลฯ
นักร้องเพลงลูกทุ่งหญิงที่ได้รับการขนานนามว่าราชินีลูกทุ่งในยุคนี้คือ พุ่มพวง ดวงจันทร์ นักร้องหญิงที่ได้รับความนิยมนอกจากพุ่มพวงได้แก่ นันทิดา แก้วบัวสาย ดาวใต้ เมืองตรัง หงษ์ทอง ดาวอุดร สดศรี พรหมเสกสรร อ้อยทิพย์ ปัญญาธรณ์ ฯลฯ
ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2528 เป็นต้นมา เกิดแฟชั่นการแสดงคอนเสิร์ตของนักร้องแนวสตริง ซึ่งการแสดงแบบนี้แพร่หลายเข้ามาในวงการเพลงลูกทุ่งด้วย พุ่มพวง ดวงจันทร์ ได้จัดการแสดงคอนเสิร์ตได้รับความนิยมอย่างสูง จัดขึ้นประมาณกลางปี พ.ศ. 2529 ที่เซ็นทรัลพลาซ่า ในขณะที่เพลง กระแซะ ของเธอมีความโด่งดังอย่างมาก

ปรากฏการณ์ใหม่ในวิวัฒนาการของเพลงลูกทุ่ง
ในปัจจุบัน มีศิลปินลูกทุ่งหน้าใหม่เข้าสู่วงการเพลงลูกทุ่งของค่ายเพลงหน้าใหม่ ตลาดเพลงลูกทุ่งเป็นตลาดใหญ่ เพลงลูกทุ่งได้รับความนิยมอีกครั้ง เนื่องมาจาก ได้มีการทำละครมนต์รักลูกทุ่งของอาร์เอส และฮิตติดตลาด ต่อมากับการกลับเข้ามาแจ้งเกิดของ ก๊อด จักรพรรณ์ อาบครบุรี กับคัพเวอร์ อัลบั้ม เพลงลูกทุ่งชุดสองที่เรียกเสียงกรี๊ดจากบรรดาแม่ยก และกลุ่มนักฟังเพลงรุ่นใหม่ในกรุงเทพฯ และการเกิดขึ้นของเพลงลูกทุ่งในคลื่นเอฟเอ็ม นำทีมบริหารโดย วิทยา ศุภพรโอภาส
ในยุคก่อนเพลงลูกทุ่งจะเปิดเฉพาะในคลื่นเอเอ็มเท่านั้น ในปัจจุบันทีวีก็เริ่มเปิดกว้างมากขึ้น เกมโชว์เอานักร้องเพลงลูกทุ่งไปเล่น ภาพยนตร์ ละครเอาลูกทุ่งไปเล่น และกลายเป็นธุรกิจกลุ่มใหญ่ขึ้น
ครูเพลงบางคนถึงกับกล่าวว่า เพลงลูกทุ่งในสมัยนี้ไม่เหมือนเดิม เพราะขาดเอกลักษณ์ของการขึ้นต้น เรื่องราวตรงกลาง และตอนจบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดสัมผัสนอก-ใน ตลอดจนการเปรียบเทียบ

เพลงลูกทุ่งในปัจจุบัน

นักร้องลูกทุ่ง องค์ประกอบของเพลงลูกทุ่ง
มีเพลงลูกทุ่งหลายเพลงได้ดัดแปลงจากเพลงไทยเดิม ยังคงทำนองเดิมแต่ตัดการเอื้อนแบบเพลงไทยเดิมออกและใส่คำร้องลงไปแทนที่ ส่วนทำนองที่มาจากเพลงพื้นบ้านพื้นเมืองที่ปรากฏในเพลงลูกทุ่งมีมาจากทุกภาค จากภาคกลางมีทำนองเพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงลำตัด เพลงกลองยาว เพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าว ฯลฯ ภาคอีสานจะมาจากทำนองเพลงลำหรือหมอลำและเซิ้ง ทำนองลำที่นิยมในเพลงลูกทุ่ง ได้แก่ ลำเต้ย ลำเพลิน ลำสารวัน ส่วนทำนองเพลงเซิ้งนิยมเป็นเซิ้งบ้องไฟ
ทำนองจากการขับร้องลิเกและทำนองเพลงแหล่นับเป็นทำนองที่เพลงลูกทุ่งนำมาใช้อยู่บ่อยครั้ง การใช้ทำนองเพลงลิเกซึ่งเป็นมหรสพพื้นบ้านเก่าแก่ของไทยมักไม่ใช้ทำนองเพลงลิเกโดด ๆ แต่จะนำมาผสมกับทำนองเพลงสากลด้วย ส่วนทำนองเพลงแหล่ซึ่งใช้ในการแสดงธรรมเทศนาของไทยเรานั้น เพลงลูกทุ่งนำมาใช้ในสองลักษณะ คือ ใช้ทำนองเพลงแหล่ตลอดทั้งเพลง และใช้ทำนองแหล่ผสมกับทำนองลิเกหรือกับทำนองเพลงสากล นักร้องเพลงลูกทุ่งที่ร้องเพลงทำนองแหล่ที่รู้จักกันดีได้แก่ พร ภิรมย์ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ และชินกร ไกรลาศ นับตั้งแต่พร ภิรมย์ เข้าสู่สมณเพศแล้วก็คงเหลือแต่ไวพจน์และชินกรเท่านั้นที่มีชื่อเสียงในการร้องเพลงทำนองแหล่มาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ทั้งสองท่านยังมีชื่อเสียงด้านทำขวัญนาคอีกด้วย
การโห่ เป็นลักษณะอีกประการหนึ่งที่พบได้บ่อยครั้ง มีทั้งการโห่แบบไทยและการโห่แบบตะวันตก การโห่แบบไทยปรากฏในเพลงที่มีเนื้อหากล่าวถึงการบวชนาค การแห่ขันหมาก เป็นการโห่ประกอบขบวน จะร้องว่า "โห่……. (ฮิ้ว)" การโห่แบบนี้อาจพบในเพลงที่กล่าวถึงการแห่วงดนตรีด้วย ซึ่งเพลงลูกทุ่งนิยมกล่าวถึงวงดนตรีของตน เช่น รุ่งเพชร แหลมสิงห์ ร้องโห่ในเพลงยกพลรุ่งเพชร
"โห่โดรีโฮ" การโห่แบบนี้ในเพลงลูกทุ่งแสดงถึงอิทธิพลจากเพลงลูกทุ่งตะวันตกซึ่งมีการโห่ การผิวปาก และการกู่ตะโกน ทำให้นึกถึงหนุ่มโคบาลหรือคาวบอยในทุ่งหญ้า เพลงลูกทุ่งไทยใช้การโห่แบบตะวันตกกับบทเพลง ที่ชื่นชมบรรยากาศความงามและความสงบของธรรมชาติท้องทุ่งเช่นเดียวกัน เพลงเหล่านี้สร้างบรรยากาศสนุกสนาน
นอกจากนี้ผู้แต่งเพลงลูกทุ่งบางท่านรับเอาทำนองเพลงต่างชาติเข้ามาเป็นส่วนประกอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำนองเพลงของชาติในเอเซียที่เกี่ยวข้องหรือคุ้นเคยกับคนไทย เช่น จีน อินเดีย ลาว ญี่ปุ่น เกาหลี

ทำนองและจังหวะ
ในแง่การใช้ภาษา ภาษาที่ใช้ในเพลงลูกทุ่งมีทั้งที่เป็นภาษามาตรฐานและภาษาชาวบ้าน เพลงลูกทุ่งที่กล่าวถึงเรื่องราวนิทานชาดก นิทานเกี่ยวกับพุทธประวัติ ตลอดจนวรรณคดีลายลักษณ์ของไทย เช่น อิเหนา รามเกียรติ์ กากี พระลอ ฯลฯ เหล่านี้จะใช้ภาษามาตรฐานและคำร้อยกรอง มีความงดงามของภาษา นอกจากนี้เพลงลูกทุ่งที่ใช้ภาษาใช้ภาษาหนังสือตามแบบแผน จะมีการพรรณาชมธรรมชาติ ชีวิตอันสุขสงบในชนบท ความรักของหนุ่มสาว ความงามของสาว
เพลงลูกทุ่งโดยส่วนมากจะใช้ภาษาชาวบ้าน เนื่องจากผู้ที่ฟังเพลงลูกทุ่งมักเป็นชาวบ้านและชาวชนบท กอปรทั้งผู้แต่งเพลงลูกทุ่งส่วนใหญ่มักมีพื้นเพมาจากชนบท มีการศึกษาน้อย ภาษาที่ใช้ในเพลงลูกทุ่งจึงเป็นภาษาพื้น ๆ แบบชาวบ้านทั่วไป ง่ายต่อการเข้าใจ สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของชาวชนบท
การร้องเพลงลูกทุ่งบางเพลงยังใช้สำร้องและศัพท์สำนวนที่เป็นของท้องถิ่น เช่น สำเนียงสุพรรณบุรี มีศัพท์และสำเนียงถิ่นภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคอีสานครบถ้วน การขับร้องด้วยสำเนียงถิ่นต่าง ๆ นี้เป็นลักษณะเฉพาะของเพลงลูกทุ่ง เมื่อเทียบกับเพลงลูกกรุงแล้วจะเห็นชัดว่านักร้องเพลงลูกกรุงออกเสียงตรงตามวรรณยุกต์ของภาษามาตรฐาน ส่วนนักร้องเพลงลูกทุ่งมักออกเสียงเพี้ยนไปจากเสียงวรรณยุกต์ของภาษามาตรฐาน บางครั้งก็เป็นสำเนียงที่ติดมากับตัวนักร้องเอง ซึ่งบางครั้งก็เจตนาที่จะเพี้ยนเสียงเพื่อสร้างความรู้สึกให้เป็นชนบทถิ่นนั้น ๆ ตามที่ต้องการ นักร้องเพลงลูกทุ่งที่มีลีลาการร้องแบบเพี้ยนสำเนียง เช่น ชาย เมืองสิงห์ รุ่งเพชร แหลมสิงห์ ศรคีรี ศรีประจวบ ศรเพชร ศรสุพรรณ สายัณห์ สัญญา จีระพันธ์ วีระพงษ์ ฯลฯ เป็นต้น
ส่วนสาระของคำร้องในเพลงลูกทุ่งนั้นมีคุณค่าเกี่ยวกับสังคมไทยและวิถีชีวิตของชาวชนบทไทยอย่างกว้างขวาง เพลงลูกทุ่งสะท้อนให้เห็นความผูกพันอันแนบแน่นของชาวชนบทกับขนบธรรมเนียมประเพณี ความยึดมั่นในพุทธศาสนา และความเชื่อเรื่องบุญกรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีรวมที่เพลงลูกทุ่งกล่าวถึง ได้แก่ สงกรานต์ เข้าพรรษา การอุปสมบท ออกพรรษา การทอดกฐิน การทอดผ้าป่า ลอยกระทง การหมั้น การแต่งงาน ตลอดจนงานศพ ส่วนขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นที่ปรากฏในเพลงลูกทุ่ง ได้แก่ การถวายขวัญข้าว การเล่นเพลงพื้นบ้าน การเล่นกลองยาว งานบุญพระเวศ บุญบั้งไฟ งานชักพร
นอกจากสะท้อนถึงสังคมไทยและวิถีชีวิตยังมีเนื้อหาบรรยายถึงสภาพแวดล้อมธรรมชาติของชนบทไทย การประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ท้องทุ่ง ไร่นา แม่น้ำ ต้นไม้ สัตว์ต่าง ๆ ตลอดจนสายลม แสงแดด แสงจันทร์ ดวงดาว ฯลฯ ประชากรที่กล่าวถึงในเพลงมักเป็นชาวชนบทหรือไม่ก็คนยาก คนจน บรรยายถึงความรัก การประกอบอาชีพ ลักษณะบ้านเรือนที่อยู่อาศัย การแต่งกาย การบริโภคอาหาร สิ่งบันเทิง และในบางครั้งเพลงลูกทุ่งสะท้อนถึงระบบความเชื่อ และระบบค่านิยมของประชากรเหล่านี้ อาทิ ความเชื่อในไสยศาสตร์และโหราศาสตร์ ค่านิยมเกี่ยวกับสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ค่านิยมเชิงวัตถุในเรื่องความร่ำรวยและทรัพย์สมบัติ ค่านิยมในฐานันดรภาพและอำนาจ ค่านิยมในชีวิตเมืองกรุง ค่านิยมเรื่องอบายมุขและสตรี และเป็นที่น่าสังเกตว่าภาพพจน์ของสตรีในเพลงลูกทุ่งไม่งดงามทันสมัยนัก สตรีมักถูกประณามเมื่อเสียพรหมจรรย์หรือถูกหลอกลวง ผู้ชายเห็นว่าการมีอนุภรรยาเป็นเรื่องโก้เก๋
เพลงลูกทุ่งบางเพลงยังเป็นกระจกสะท้อนให้เห็นปัญหาในแง่มุมต่าง ๆ อันสืบเนื่องมาจากความยากจนและสภาวะธรรมชาติ เช่น สภาพนาแล้ง นาล่ม ภาวะหนี้สิน ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ การเอารัดเอาเปรียบของนายทุนเงินกู้และพ่อค้าคนกลาง ฯลฯ สาระต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นภาพฉายให้เห็นปัญหาการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการกระจายรายได้ซึ่งยังคงเป็นปัญหาหลักของสังคมไทย

หางเครื่อง
ได้มีการส่งเสริมเพลงลูกทุ่งด้วยการมอบรางวัลทางดนตรีอย่างรางวัลมาลัยทอง ที่มอบเป็น ขวัญ กำลังใจ ให้คนทำงานเพลงลูกทุ่งที่มีคุณภาพ ทั้งเบื้องหน้าเบื้องหลัง

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2550


ไลโอเนล ลูเธอร์ เป็นตัวละครดั้งเดิมของ DC Comics ในการ์ตูนเรื่อง "ซูเปอร์แมน" แต่ทว่าในการ์ตูนก็ไม่ได้มีการกำหนดมาก่อนว่าจะต้องให้พ่อของเล็กซ์ ลูเธอร์ชื่อว่า "ไลโอเนล" ชื่อไลโอเนลเป็นชื่อที่ทางทีมงานละคร "สมอลวิลล์" ได้ตั้งขึ้นเพื่อที่จะเป็นชื่อพ่อผู้เลวร้ายของเล็กซ์ ลูเธอร์ ไลโอเนล ลูเธอร์ แสดงโดยจอห์น โกลเวอร์ ซึ่งเป็นนักแสดงเกย์ซึ่งได้รับการยกย่องว่าชำนาญยิ่งในบทบาทของตัวร้ายในตำนานหลากหลายเรื่อง เขาเคยแสดงภาพยนตร์และละครซูเปอร์ฮีโร่มาหลายเรื่องเช่นสตาร์เทร็ก, แบทแมน ฯลฯ
ประวัติตัวละคร
ไลโอเนล ลูเธอร์ได้ร่วมมือกับมอร์แกน เอดจ์ในการสังหารบุพการีของเขา เพื่อที่จะเอาเงินประกันชีวิตของพ่อแม่เขามาตั้งบริษัทลูเธอร์คอร์ป รวมทั้งปกปิดคดี สร้างตึกใหม่ทับสลัมที่เป็นบ้านของพ่อแม่ของเขาเดิม ภาคที่ 3 ตอนที่ 6 Relic คลาร์ก เค้นท์, โคลอี้ ซัลลิแวน และ ลาน่า แลงก์ ได้ร่วมกันสืบสวนหาผู้ที่ยิงภรรยาของเด็กซ์เตอร์ แม็กคัลลัม ซึ่งเป็นตาของลาน่า และเด็กซ์เตอร์ต้องติดคุกแทน ระหว่างนั้น พวกเขาได้เจอบันทึกคดีเก่าของสมอลวิลล์ ที่พบว่ามีชื่อของแลชลาน ลูเธอร์ซึ่งเคยถูกจับในสมอลวิลล์มาก่อน โคลอี้จึงนำเรื่องนี้ไปถามเล็กซ์และเล็กซ์ก็ลองไปถามไลโอเนล ไลโอเนลได้ตอบว่าพวกเขาเคยอยู่ในสลัมมาก่อน และพ่อแม่เขาเองตายด้วยอุบัติเหตุไฟไหม้บ้าน ที่ไลโอเนลรอดมาได้เพราะว่าเขาไปทำงานในโรงพิมพ์ "เขา (ไลโอเนล) เรียกการระเบิดสองช่วงตึกว่าไฟไหม้" นักสืบเมสัน, ภาคที่ 3 ตอนที่ 6 Relic ไลโอเนล ลูเธอร์ไลโอเนล ลูเธอร์ แต่พอเล็กซ์ไปหานักสืบเมสัน นักสืบที่เคยสืบเรื่องการฆาตกรรมของลูเธอร์มาก่อน เล็กซ์กลับพบว่าที่แท้พ่อแม่เขาตายด้วยระเบิด และพยายามที่จะสืบหาความจริงให้ได้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ไลโอเนลลบความจำของเล็กซ์ทิ้ง เป็นสาเหตุที่ทำให้เล็กซ์ร่วมมือกับโคลอี้ในการหาหลักฐานเอาผิดไลโอเนลให้ได้ เพราะว่าทั้งสองคนก็ต่างมีความแค้นต่อไลโอเนลทั้งคู่
ความลับของคลาร์ก เค้นท์ ,สายสัมพันธ์กับโคลอี้ และร่างทรงของจอร์เอล
ไลโอเนลมีความสัมพันธ์ครั้งแรกกับลิไลแอน ลูเธอร์ มีลูกสองคนคือเล็กซ์และจูเลี่ยน ก่อนที่ลิไลแอนจะสังหารจูเลี่ยนขณะที่เล็กซ์ยังอายุได้เพียงแค่ 5 ขวบเท่านั้น และลิไลแอนก็เสียชีวิตขณะเล็กซ์อายุได้เพียง 13 ขวบ ไลโอเนลมีความสัมพันธ์ครั้งที่สองกับราเชล ดันเลวี่ซึ่งมีลูกหนึ่งคนชื่อลูคัส แต่เธอเสียสติและนึกว่าลูกของเธอคือคลาร์กและเล็กซ์ ส่วนลูคัสก็เป็นลูกผู้เอาแต่ใจ หลังจากร่วมมือกับไลโอเนลในการขับเล็กซ์ออกจากคฤหาสน์ทำให้เล็กซ์ต้องไปอยู่ที่ไร่เค้นท์และช่วยงานจนโจนาธานและมาร์ธ่าซึ่งเป็นพ่อแม่ของคลาร์กพอใจในที่สุด เขาก็หันมาคบกับเล็กซ์อีกครั้งก่อนที่เขาจะหายตัวไปอย่างลึกลับ ปัจจุบันไลโอเนลมีความสัมพันธ์กับมาร์ธ่า เค้นท์ ไลโอเนลเริ่มเข้ามาในชีวิตของเธอและคลาร์กมากขึ้นตั้งแต่โจนาธาน เค้นท์เสียชีวิตจากโรคหัวใจ ให้การสนับสนุนเธอเป็นสมาชิกวุฒิสภาของรัฐคันซัส รวมทั้งให้คำปรึกษาคลาร์กเรื่องเล็กซ์ ซึ่งตอนแรกเขาเข้ามาหมายที่จะรู้เรื่องคลาร์กให้มากขึ้น แต่ทว่าตอนหลังเขาเริ่มมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับมาร์ธ่า เค้นท์มากขึ้น

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2550


อำเภอคีรีมาศ เป็น 1 ใน 9 อำเภอของจังหวัดสุโขทัย

อำเภอคีรีมาศ การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอคีรีมาศแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 10 ตำบล 101 หมู่บ้าน ได้แก่

โตนด (Tanot)
ทุ่งหลวง (Thung Luang)
บ้านป้อม (Ban Pom)
สามพวง (Sam Phuang)
ศรีคีรีมาศ (Si Kriri Mat)
หนองจิก (Nong Chik)
นาเชิงคีรี (Na Choeng Khiri)
หนองกระดิ่ง (Nong Krading)
บ้านน้ำพุ (Ban Nam Phu)
ทุ่งยางเมือง (Thung Yang Mueang)

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2550

เอกซ์บอกซ์
เอกซ์บอกซ์ (อังกฤษ: XBox) เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมตัวแรกของบริษัทไมโครซอฟท์ วางจำหนายในอเมริกาเหนือวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2001 ที่ญี่ปุ่นวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2002 และวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 2002 ในทวีปยุโรป ไมโครซอฟท์อ้างว่าสามารถขาย XBox ได้ถึง 22 ล้านเครื่องนับถึง ค.ศ. 2005
ใน ค.ศ. 2005 ไมโครซอฟท์ได้วางจำหน่ายเครื่องเอกซ์บ็อกซ์รุ่นที่สองในชื่อว่า เอกซ์บอกซ์ 360

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2550


เอเชียนเกมส์ 1998 เป็นการแข่งขัน เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 จัดขึ้นที่ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 6 ธันวาคม ถึง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2541 มีประเทศเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 41 ประเทศ และมีกีฬาแข่งขันทั้งหมด 36 ชนิด โดยสนามแข่งขันที่ใช้เป็นหลัก คือ ศูนย์กีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต ศูนย์กีฬาหัวหมาก การกีฬาแห่งประเทศไทย และ ศูนย์กีฬาเมืองทองธานี
มาสคอตของการแข่งขันครั้งนี้ คือ ช้าง ไชโย และมีคำขวัญว่า Friendship beyond Frontiers หรือ มิตรภาพไร้พรมแดน

เอเชียนเกมส์ 1998 ตารางสรุปเหรียญ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินในพิธีเปิดการแข่งขัน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2541สนามราชมังคลากีฬาสถาน ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อรองรับการแข่งขันครั้งนี้
การแข่งขันได้เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม
สมรักษ์ คำสิงห์ เป็นผู้จุดไฟในกระถางคบเพลิงทรงดอกบัว
อมิตา ทาทา ยัง ร่วมแสดงและขับร้องเพลง "Reach for the star" ในการแสดงชุดสุดท้ายของพิธีเปิด นอกจากนี้ แอ๊ด คาราบาว ยังเป็นผู้ขับร้องเพลง "มิตรภาพไร้พรหมแดน" ซึ่งเป็นเพลงประจำการแข่งขันครั้งนี้อีกด้วย
รถไฟฟ้าบีทีเอสเปิดใช้เป็นครั้งแรกก่อนช่วงระยะเวลาของการแข่งขันเล็กน้อย และป้ายรถเมล์ก็ได้รับการปรับเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบในปัจจุบัน
โรงเรียนและสถานศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลปิดการเรียน 2 สัปดาห์ เพื่อป้องกันปัญหาการจราจร
ทีมฟุตบอลทีมชาติไทยสามารถเอาชนะเกาหลีใต้ได้ไป 2:1 ในรอบก่อนรองชนะเลิศ ในช่วงทดเวลาบาดเจ็บ จากลูกยิงฟรีคิกของธวัชชัย ดำรงอ่องตระกูล ซึ่งเป็นการคุมทีมเป็นครั้งแรก ๆ ของ ปีเตอร์ วิธ โค้ชชาวอังกฤษ การแข่งขันฟุตบอลครั้งนั้น ไทยได้ที่ 4 ซึ่งเป็นสถิติดีที่สุดที่ทีมชาติไทยสามารถทำได้จนปัจจุบัน
เหรียญทองเหรียญสุดท้ายที่ทำการแข่งขัน คือ มวยสากลสมัครเล่นในรุ่นเฟเธอร์เวท โดยสมรักษ์ คำสิงห์สามารถคว้าไปได้ โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการแข่งขัน และทรงเป็นองค์ประธานในพิธีปิดอีกด้วย

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2550

ไฟนอลแฟนตาซี XII
รายชื่อภาพยนตร์ไทย ที่ออกฉายครั้งแรกใน พ.ศ. 2481
รายชื่อภาพยนตร์ไทย พ.ศ. 2481
จ๊ะเอ๋ (2481)
ตื่นเขย (2481)
ในสวนรัก (2481)
เมืองทอง (2481)
แม่สื่อสาว (2481)
หวานใจนายเรือ (2481)
อ้ายค่อม (2481)

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2550

PH (แก้ความกำกวม)
PH, Ph, pH, ph สามารถหมายถึง


pH ค่าความเป็นกรด เบส
ph (สัทศาสตร์) ตัวอักษรที่สะกดด้วยอักษร ph คู่กัน

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2550

พ.ศ. 423
พุทธศักราช 423 ใกล้เคียงกับ ก่อน ค.ศ. 121

วันเกิด

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2550

คำไต สีพันดอน
ฯพณฯ คำไต สีพันดอน (เกิด 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467 ที่ แขวงจำปาสัก ประเทศลาว) เป็นประธานประเทศของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ปัจจุบัน สมรสแล้ว มีบุตร 5 คน (ลูกชาย 2 คน ลูกสาว 3 คน)